logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ เจทแลค (Jet Lag)

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : เจทแลค (Jet Lag)

เจทแลค (Jet lag) หรือทางการแพทย์เรียกว่า Desynchronosis หรือ Flight fatigue เป็นกลุ่มอาการด้านสรีรวิทยา เกิดจากภาวะที่นาฬิกาชีวภาพของร่างกายไม่สามารถปรับตัวรวดเร็วได้ตามเวลาที่แท้จริงของท้องถิ่นในขณะนั้น สาเหตุจากการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลา มักพบเมื่อ ‘เดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลามากกว่า 3 เส้นแบ่งเวลาขึ้นไป’ ทำให้เวลาของการรับประทานอาหาร เวลาหลับนอน การหลั่งฮอร์โมน อุณหภูมิของร่างกายไม่สามารถปรับสภาพให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นได้ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการปรับตัวขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเจทแลค นอกจากขึ้นกับการข้ามเส้นแบ่งเวลาแล้ว ยังขึ้นกับ

  • ความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น คนนอนหัวค่ำ มีโอกาสเกิดเจทแลคได้น้อยกว่าคนนอนดึก
  • อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งปรับตัวยาก
  • ทิศของการเดินทาง การเดินทางไปทางทิศตะวันตกจะมีโอกาสเกิดเจทแลคได้น้อยกว่าเดินทางไปทางทิศตะวันออก เพราะจะได้กำไรช่วงระยะเวลาของวัน ร่างกายจึงปรับตัวได้ดีกว่า
  • อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กังวล หงุดหงิด และ ซึมเศร้า
  • นอนไม่หลับ ง่วงนอนเวลากลางวัน
  • มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และ พฤติกรรม
  • การตัดสินใจและปฏิกิริยาตอบโต้ช้าลง
  • มีการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพในการทำงาน และ แรงจูงใจ
  • สมาธิไม่ดี ความจำระยะสั้นเสื่อมลง
  • ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือ ท้องเดิน
  • ทั่วไป:
    • ก่อนเดินทาง ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย พักผ่อนให้มากพอ
    • ก่อนเดินทางไปด้านทิศตะวันตก 2-3 วัน ให้เข้านอนดึกขึ้น และในทางตรงกันข้าม ถ้าจะเดินทางไปทางทิศตะวันออก ก็ปรับตัวให้นอนหัวค่ำขึ้น 2-3 วันก่อนเดินทาง
    • เมื่อออกเดินทาง ปรับร่างกายเหมือนกับอยู่ที่สถานที่ปลายทาง โดยให้สอดคล้องกับเวลารับประทานอาหารและเวลาหลับนอน
    • หลังจากถึงปลายทางเวลาเช้า พยายามให้ร่างกายตื่นตัวโดยการเดินออกกำลังในที่แจ้ง
  • การปฏิบัติตัวระหว่างเดินทาง
    • รับประทานอาหารเบาๆ/อาหารอ่อน ให้มีเกลือโซเดียม/เกลือแกง/เค็ม ไขมัน และน้ำตาลน้อยๆ
    • ระหว่างเดินทางไปทางทิศตะวันตก ให้รับประทานอาหารโปรตีนมากๆ เพื่อให้ร่างกายยังคงตื่นตัว
    • ดื่มน้ำมากๆ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
    • ไม่สูบบุหรี่
    • งีบหลับเป็นช่วงๆ ประมาณ 20 นาที โดยไม่ใช่ยานอนหลับ
    • ลุกขึ้นยืน หรือ เดิน บ้าง ภายในห้องโดยสารเครื่องบิน ขณะนั่งก็ออกกำลังส่วนขา ข้อเท้า
    • หลังจากเดินทางระยะไกล เมื่อถึงปลายทางพยายามอย่าหลับก่อนเวลานอนของเวลาท้องถิ่น